ที่ปรึกษาจเรตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ. อัมรินทร์ อัครวงษ์
นายวันเกษม สัตยานุชิต
ที่ปรึกษา จเรตำรวจแห่งชาติ
พลตำรวจเอก อัมรินทร์ อัครวงษ์
กิจกรรมระหว่างปฎิบัติหน้าที่ ที่ปรึกษาจเรตำรวจแห่งชาติ
จังหวัดสุโขทัย
พิธีมอบรางวัล ตำรวจสีขาว ดาวคุณธรรม
ณ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค ๓ จังหวัดนครราชสีมา
งานเกษียณ ณ สโมสรตำรวจ
ผมขอขอบคุณในโอกาสที่ได้รับใช้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะ ที่ปรึกษา จเรตำรวจแห่งชาติ
ประวัติสำนักงานจเรตำรวจ | ||
พ.ศ. 2458 การตรวจราชการของตำรวจได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับเปลี่ยนกรมตำรวจภูธรกับกรมพลตระเวน เป็นกรมตำรวจพระนครบาลและกรมตำรวจภูธร เห็นควรจะมีพนักงานจเรสำหรับตรวจการงานในกรมนี้ จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เสนาบดีกระทรวงนครบาลตรากฎหมายเป็นข้อบังคับไว้สำหรับเจ้าพนักงานแผนกจเรตำรวจ
ในปี พ.ศ.2461 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นายพลตำรวจตรีพระยาคทาธรบดีสีหราชบาลเมืองดำรงตำแหน่งจเรใหญ่กรมตำรวจพระนครบาลและกรมตำรวจภูธรเป็นท่านแรก และในปี พ.ศ.2465 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาเพชรอินทรา (หวามิง) ผู้ช่วยจเรใหญ่เป็นจเรใหญ่
ในปี พ.ศ.2466 ได้มีการจัดตั้งกรมสำรวจขึ้นโดยมีจางวางตรีพระยาอุดมพงษ์ เพ็ญสวัสดิ์ เป็นอธิบดี และให้กรมสำรวจนี้ มีหน้าที่ตรวจราชการได้ทั่วในกรุงและหัวเมือง ต่อมาในปี พ.ศ.2471 ได้ยกเลิกกรมสำรวจแล้วตั้งเป็น จเรตำรวจภูธร เพื่อให้ทำหน้าที่ในการตรวจราชการ และช่วยในการปราบปรามโจรผู้ร้ายด้วย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 ได้มีการเปลี่ยนชื่อกรมตำรวจภูธรมาเป็นกรมตำรวจ และหน่วยงานของจเรตำรวจได้หายไป จนกระทั่งมาถึงปี พ.ศ.2476 กรมตำรวจได้เล็งเห็นความสำคัญของงานจเรตำรวจจึงได้มีการตั้งตำเหน่งจเรตำรวจภูธรภาคขึ้นมี 4 ภาคเรียกว่ากองจเรตำรวจภูธรภาค 1, 2, 3 และ 4 ในปี พ.ศ.2481 มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนกลาง โดยให้มีจเรตำรวจขึ้นในกรมตำรวจ แต่ในปี พ.ศ.2491 ได้มีการยกเลิกจเรตำรวจ แล้วตั้งแผนกตรวจรายงานตรวจราชการขึ้นในสำนักงานเลขานุการกรม แต่ในปี พ.ศ.2493 ได้มีการตั้งเป็นกองจเรตำรวจขึ้นใหม่และได้ยกฐานะกองจเรตำรวจเป็นกองบัญชาการจเรตำรวจ ในปี พ.ศ.2495 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการจเรตำรวจ เป็นสำนักงานจเรตำรวจในปี พ.ศ.2503
พ.ศ.2532 กรมตำรวจได้มีการกำหนดระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยกำหนดหน้าที่การงานในราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2532 ขึ้น ทำให้สำนักงานจเรตำรวจมีการกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการเป็น 4 แผนก ต่อมามีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในสำนักงานจเรตำรวจโดยแบ่งเป็น 1 ฝ่าย และ 6 ส่วนคือฝ่ายอำนวยการ ส่วนสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง และส่วนตรวจราชการ 1 – 5 ในปี พ.ศ.2534
พ.ศ. 2547 สำนักงานจเรตำรวจได้แบ่งส่วนราชการเป็น 6 กองบังคับการคือ กองบังคับการอำนวยการ และกองตรวจราชการ 1 – 5 ซึ่งแต่ละกองตรวจราชการประกอบด้วย กลุ่มงานตรวจราชการและกลุ่มงานสืบสวนสอบสวน ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และได้กำหนดให้มีตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นตำแหน่งระดับเดียวกับตำแหน่ง รอง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. 2550 ก.ต.ช. ได้มีมติเห็นชอบกำหนดตำแหน่งผู้ทำหน้าที่ตรวจราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 13 ตำแหน่ง ได้แก่ รองจเรตำรวจแห่งชาติ (สบ 9) 1 ตำแหน่ง, จเรตำรวจ(สบ 8) 7 ตำแหน่ง, รองจเรตำรวจ(สบ 7) 2 ตำแหน่ง และผู้บังคับการประจำสำนักงานจเรตำรวจอีก 3 ตำแหน่ง และได้กำหนดเขตตรวจราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกเป็น 7 เขตตรวจ และเปลี่ยนแปลงกำหนดเขตตรวจใหม่เป็น 10 เขตตรวจ ในเดือน ธ.ค. 2550 กำหนดให้มีตำแหน่ง รองจเรตำรวจแห่งชาติ(สบ 9) เพิ่มอีก 1 ตำแหน่ง จเรตำรวจ(สบ 8) เพิ่ม 3 ตำแหน่ง รวมเป็น 10 ตำแหน่ง วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการปรับโครงสร้างของสำนักงานจเรตำรวจเป็นกองบังคับการอำนวยการและกองตรวจราชการ 1 – 10 แบ่งพื้นที่ และหน่วยงานให้รับผิดชอบดังนี้
|
กองบังคับการอำนวยการ(ใหม่)
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552
สำนักงานจเรตำรวจ แบ่งเป็นดังนี้
กองบังคับการอำนวยการ ประกอบด้วย
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552
สำนักงานจเรตำรวจ แบ่งเป็นดังนี้
กองบังคับการอำนวยการ ประกอบด้วย
(๑) ฝ่ายธุรการและกำลังพล มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ งานประชาสัมพันธ์ งานการประชุม งานสวัสดิการ งานกำลังพล งานประวัติ งานคดีและวินัย และงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของสำนักงานจเรตำรวจ และกองบังคับการอำนวยการโดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
- ๑.๑) งานธุรการและงานสารบรรณ รวมทั้งจัดทำสถิติงานเข้า – ออกของฝ่ายธุรการและกำลังพล และกองบังคับการอำนวยการ ของสำนักงานจเรตำรวจ
- ๑.๒) เป็นเลขานุการของการประชุมตามที่กองบังคับการอำนวยการหรือสำนักงานจเรตำรวจ จัดให้มีการประชุมขึ้น เว้นแต่กรณีที่มีเจ้าของเรื่องการประชุมรับหน้าที่เป็นเลขานุการ ของการประชุม
- ๑.๓) รวบรวม จัดเก็บรักษา หรือแจกจ่ายกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ราชกิจจานุเบกษา และเอกสารของทางราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ๑.๔) จัดเวรยามเพื่อรักษาความปลอดภัย ป้องกันและระงับอัคคีภัยสถานที่ราชการของกองบังคับการอำนวยการ และสำนักงานจเรตำรวจ
- ๑.๕) ควบคุมสมุดการลงเวลาทำงานของฝ่ายธุรการและกำลังพล กองบังคับการอำนวยการ และสำนักงานจเรตำรวจให้เป็นไปตามระเบียบที่วางไว้
- ๑.๖) จัดข้าราชการตำรวจไปร่วมในกิจกรรมหรือพิธีการต่าง ๆ
- ๑.๗) ดำเนินการเกี่ยวกับงานไปรษณีย์
- ๑.๘) ดำเนินการเกี่ยวกับงานสวัสดิการข้าราชการตำรวจและการสงเคราะห์แก่ครอบครัวข้าราชการตำรวจที่ประสบภัยได้รับความเดือดร้อน
- ๑.๙) จัดการช่วยเหลืออุปการะบุตร – ธิดาของข้าราชการตำรวจในด้านการศึกษา ได้แก่ การจัดหาทุนการศึกษา และจัดสถานศึกษา เป็นต้น
- ๑.๑๐) จัดหาบ้านพักให้กับข้าราชการตำรวจที่เดือดร้อนเรื่องที่พักอาศัย
- ๑.๑๑) เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ เช่น การกู้เงินกองกลางอุดหนุนตำรวจ การขอกู้เงินเพื่อปลูกบ้านพักอาศัย หลักฐานการสมัครเป็นสมาชิกฌาปนกิจ เพื่อเสนอไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ๑.๑๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมกิจกรรมด้านกีฬาให้กับข้าราชการตำรวจทุกหน่วยงานในสังกัด
- ๑.๑๓) จัดทำการสำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจ เพื่อใช้ในการพิจารณาปรับปรุงสมรรถภาพและใช้ประกอบการพิจารณาความดีความชอบ
- ๑.๑๔) งานวิเคราะห์เพื่อกำหนดจำนวนตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ โดยเสนอข้อมูล หลักการ ความเห็น และแนวทางในการพิจารณาตามหลักวิชาการและแนวทางปฏิบัติเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา
- ๑.๑๕) จัดทำและเสนอแนะการวิเคราะห์และกำหนดตำแหน่งให้กับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจ ตลอดจนการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในตำแหน่ง ต่าง ๆ
- ๑.๑๖) จัดทำแผนและเตรียมการเกี่ยวกับกำลังพลให้เหมาะสมและเพียงพอกับงานในความรับผิดชอบของสำนักงานจเรตำรวจ
- ๑.๑๗) จัดทำทำเนียบอัตรากำลังอนุญาตข้าราชการตำรวจและลูกจ้าง ตลอดจนการจัดทำทะเบียนพลที่มีอยู่จริง
- ๑.๑๘) ประสานงานด้านอัตรากำลังและอัตราเงินเดือนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนอัตรากำลังและอัตราเงินเดือนของข้าราชการตำรวจและลูกจ้างให้ถูกต้องตามความเป็นจริง กับแจ้งให้สานักงานตำรวจแห่งชาติทราบ รวมทั้งงานขออัตราเพิ่มใหม่และการขอแปลงอัตรา
- ๑.๑๙) ดำเนินการเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจ
- ๑.๒๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการโอน การรับสมัครบุคคลภายนอก เข้ารับราชการในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจ
- ๑.๒๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการตำรวจ
- ๑.๒๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการสั่งให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจสำรองราชการ
- ๑.๒๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการลาประเภทต่าง ๆ การลาออก และการให้ออกจากราชการที่ไม่เกี่ยวกับความผิดทางวินัย
- ๑.๒๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการเกณฑ์ การขอปลดประจำการของข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
- ๑.๒๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งนายตำรวจราชสำนักเวร
- ๑.๒๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน การขอเลื่อนขั้นและอัตราเงินเดือน การเพิ่มค่าจ้าง การขอเงินเพิ่มพิเศษต่าง ๆ การขอเลื่อนยศ การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญตรา เครื่องหมายแสดงเกียรติคุณต่าง ๆ
- ๑.๒๗) ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีขอเบิกเงินเดือนข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจประจำเดือน ๑๑๖
- ๑.๒๘) รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาขอบำเหน็จความชอบประจำปี และเก็บสถิติผลงานเป็นรายบุคคลเพื่อใช้พิจารณาความสามารถหรือหย่อนความสามารถ ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
- ๑.๒๙) จัดทำ รวบรวม และเก็บรักษาสมุดประวัติ บัตรประวัติ ก.พ.๗ และแฟ้มประวัติข้าราชการตำรวจ รวมทั้งตำรวจนอกราชการ การหมายเหตุ แก้ไข เพิ่มเติม การลงประวัติความดีความชอบพิเศษ ประวัติการศึกษาอบรมเพิ่มเติมหลักสูตรต่าง ๆ และคุณวุฒิเพิ่มเติม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือการขอเปลี่ยนแปลงไปให้หน่วยที่เกี่ยวข้องของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการอำนวยการ สำนักงานจเรตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ๑.๓๐) งานบันทึก ตรวจสอบ ควบคุม และรายงานข้อมูลสถานภาพกำลังพลของข้าราชการตำรวจในสังกัด รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวกับฐานข้อมูลกำลังพลกลางของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และดำเนินการเพื่อให้ข้อมูลสถานภาพกำลังพลในความรับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
- ๑.๓๑) จัดทำบัตรประจำตัว บัตรประวัติ บัตรที่เกี่ยวกับเหรียญประเภท ต่าง ๆ และบัตรประจำตัวอื่น ๆ ให้แก่ข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และข้าราชการบำนาญในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจ
- ๑.๓๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบอายุราชการของข้าราชการตำรวจและลูกจ้างที่จะครบกำหนดเกษียณอายุราชการ รวมทั้งจัดการเกี่ยวกับการขอบำเหน็จบำนาญ การขอเลื่อนยศ ผู้เกษียณอายุราชการ
- ๑.๓๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการขอพระราชทานสัญญาบัตรยศ การออกประทวนยศ และการเรียกคืน
- ๑.๓๔) ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการเบิกจ่ายตรงเกี่ยวกับสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล
- ๑.๓๕) ดำเนินการเกี่ยวกับกรณีที่มีผู้รองเรียนหรือกล่าวหาข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดกองบังคับการอำนวยการและสำนักงานจเรตำรวจว่ากระทำผิดจรรยาบรรณ วินัย และทางอาญา
- ๑.๓๖) จัดเก็บหนังสือ คำสั่ง เอกสาร ข้อบังคับ และสถิติเกี่ยวกับการลงโทษและความผิดของข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจ
- ๑.๓๗) กำหนดหลักเกณฑ์ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง รวมทั้งมาตรการ ที่เหมาะสมในการควบคุม ปกครอง บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจ ให้มีความประพฤติอยู่ในกรอบวินัยตำรวจ
- ๑.๓๘) ดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอพักราชการหรือการให้ออกจากราชการไว้ก่อนของข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ ลูกจ้างในสังกัดกองบังคับการอำนวยการและ ๑๑๗ สำนักงานจเรตำรวจที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดทางอาญา ตลอดจนการรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
- ๑.๓๙) ดำเนินการวางแผน และกำหนดโครงการเกี่ยวกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งดูแลให้มีการปฏิบัติตามแผนและคำสั่งเพื่อสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจ
- ๑.๔๐) ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูลต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย และใช้สนับสนุนงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ งานสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง งานตรวจราชการ ตลอดจนงานอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ๑.๔๑) ดำเนินการจัดทำระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และสำหรับผู้ที่จะเข้ามาใช้หรือแก้ไขข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบสามารถตรวจสอบได้
- ๑.๔๒) ดำเนินการเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับหน่วยต่าง ๆ ของสำนักงานจเรตำรวจ และหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ๑.๔๓) ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ทางเว็บไซต์ เพื่อสนับสนุนงานฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์และหน่วยต่าง ๆ ของสำนักงานจเรตำรวจ
- ๑.๔๔) ดำเนินการปฐมนิเทศข้าราชการตำรวจที่เข้ารับราชการใหม่หรือ ย้ายเข้ามาใหม่ ให้ทราบและเข้าใจเป้าหมายและนโยบายในการปฏิบัติงาน
- ๑.๔๕) การยกย่องชมเชยข้าราชการตำรวจที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น
- ๑.๔๖) งานที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใด ไว้เป็นการเฉพาะ หรืองานที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน โดยประมวลเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณา สั่งการให้หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ
- ๑.๔๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
- ๑.๔๘) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
(๒) ฝ่ายยุทธศาสตร์ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานยุทธศาสตร์ งานแผนงาน งานงบประมาณ และงานวิจัยและงานติดตามประเมินผลของสำนักงานจเรตำรวจ โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
- ๒.๑) งานธุรการและงานสารบรรณ รวมทั้งจัดทำสถิติงานเข้า – ออก ของฝ่ายยุทธศาสตร์
- ๒.๒) ดำเนินการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ แผนปฏิบัติราชการที่เกี่ยวกับสำนักงานจเรตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ๒.๓) ดำเนินการเกี่ยวกับงานยุทธศาสตร์ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมาย ๑๑๘
- ๒.๔) งานพิจารณาศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานของสำนักงานจเรตำรวจ
- ๒.๕) ดำเนินการรวบรวมข้อมูล แยกประเภทข้อมูลการตรวจราชการ ให้เป็นระบบสามารถตรวจสอบได้
- ๒.๖) งานประสานงานกับหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอทราบข้อมูล
- ๒.๗) งานตรวจสอบความถูกต้อง และศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจราชการ
- ๒.๘) งานติดตามประสานการปฏิบัติกับหน่วยที่เกี่ยวข้องจนกว่าเรื่องยุติ
- ๒.๙) งานวางแผนการตรวจราชการ
- ๒.๑๐) งานดำเนินการตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมายให้สำนักงานจเรตำรวจรับผิดชอบ
- ๒.๑๑) ดำเนินการวางแผนในการกำหนดหลักสูตร และวิธีการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจและหน่วยงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
- ๒.๑๒) ดำเนินการจัดทำหลักสูตรหรือโครงการฝึกอบรม สัมมนา ข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจ
- ๒.๑๓) งานดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรของสำนักงาน จเรตำรวจให้มีคุณภาพ ตามหลักสูตรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ๒.๑๔) จัดทำแผนงาน โครงการ เพื่อฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะ ในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงาน จเรตำรวจ
- ๒.๑๕) ดำเนินการให้ข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานจเรตำรวจได้มีโอกาสไปศึกษาต่อ ณ สถาบันศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศตามความเหมาะสมและจำเป็น
- ๒.๑๖) งานจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
- ๒.๑๗) งานบริหารงบประมาณและจัดสรรงบประมาณประจำปีให้กับหน่วยต่าง ๆ ของสำนักงานจเรตำรวจ
- ๒.๑๘) งานควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ของสำนักงานจเรตำรวจให้เกิดความถูกต้องและใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ๒.๑๙) ควบคุม กำกับ ติดตาม เร่งรัดผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน ผลผลิต กิจกรรม ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและส่วนราชการอื่น
- ๒.๒๐) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบันทึกข้อมูลการบริหารงบประมาณ ในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ๑๑๙
- ๒.๒๑) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
(๓) ฝ่ายส่งกำลังบำรุง มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี งานพัสดุและยานพาหนะ ตลอดจนงานพลาธิการ โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
- ๓.๑) งานธุรการและงานสารบรรณ รวมทั้งจัดทำสถิติงานเข้า – ออก ของฝ่ายส่งกำลังบำรุง
- ๓.๒) ดำเนินการเกี่ยวกับด้านเอกสารการเบิกจ่ายเงินทุกประเภท
- ๓.๓) ดำเนินการเกี่ยวกับงานรับรองสิทธิเกี่ยวกับการเบิกจ่าย หรือสวัสดิการการเงิน
- ๓.๔) ดำเนินการเกี่ยวกับงานตรวจสอบเอกสารการรับ – จ่ายเงิน ทุกประเภท
- ๓.๕) ดำเนินการเกี่ยวกับงานรับ – จ่ายเงินทุกประเภท
- ๓.๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเก็บรักษาและนำเงินส่งกองการเงินหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ๓.๗) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบัญชีของสำนักงานจเรตำรวจ
- ๓.๘) จัดทำงบเดือนและรายงานฐานะการเงินส่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
- ๓.๙) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เงินหมวดค่าตอบแทน เงินรางวัล และเงินอื่น ๆ ของข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานจเรตำรวจ
- ๓.๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับเงินยืมทุกประเภท
- ๓.๑๑) จัดทำหนังสือรับรองการโอนอัตราเงินเดือน
- ๓.๑๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานจเรตำรวจ (กรณีขอถือจ่ายเพิ่มเติม)
- ๓.๑๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนควบคุมการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการแจ้งรายการหักภาษีต่อกรมสรรพากรในการเสียภาษีประจำปีของข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานจเรตำรวจ
- ๓.๑๔) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบันทึกข้อมูลทางด้านการเงินในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
- ๓.๑๕) ดำเนินการขอกันเงินและขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณเหลื่อมปี
- ๓.๑๖) รวบรวม เก็บรักษา และแจกจ่ายกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการเงินและการบัญชี ตลอดจนให้คำปรึกษา แนะนำกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสำนักงานจเรตำรวจ
- ๓.๑๗) งานจัดหา ควบคุม เบิกจ่าย จำหน่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ และสิ่งของหลวงต่าง ๆ
- ๓.๑๘) งานจัดทำบัญชีสิ่งของหลวง
- ๓.๑๙) งานควบคุม ดูแล การใช้ การซ่อม และบำรุงสิ่งของหลวงต่าง ๆ รวมทั้งยานพาหนะให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติเสมอ
- ๓.๒๐) งานพลาธิการ ยานพาหนะ ขนส่ง และสื่อสาร
- ๓.๒๑) งานจัดทำและเก็บรักษาสมุดประวัติยานพาหนะ
- ๓.๒๒) งานการใช้อาคารและสถานที่
- ๓.๒๓) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
(๔) ฝ่ายติดตามประเมินผล มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานวิจัยและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการต่าง ๆ โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
- ๔.๑) งานธุรการและงานสารบรรณ รวมทั้งจัดทำสถิติงานเข้า – ออก ของฝ่ายติดตามประเมินผล
- ๔.๒) รวบรวมข้อมูล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ แผนงาน นโยบาย และโครงการต่าง ๆ ที่สำนักงานจเรตำรวจกำหนด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติสั่งการ
- ๔.๓) รวบรวมข้อมูล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงานจเรตำรวจ เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบและพิจารณาสั่งการตามความเหมาะสมต่อไป
- ๔.๔) ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปเสนอแนะผู้บังคับบัญชาเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ในปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
- ๔.๕) ติดตามประเมินผลการตรวจราชการ และการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนงานต่าง ๆ ของสำนักงานจเรตำรวจ เพื่อนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณา สั่งการ
- ๔.๖) สรุปสภาพปัญหาในลักษณะภาพรวมเพื่อทราบความก้าวหน้า ความสำเร็จ ตลอดจนปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตามแผนงาน และ ตามโครงการของสำนักงานจเรตำรวจ
- ๔.๗) จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติในการตรวจราชการ การสืบสวนข้อเท็จจริง และการปฏิบัติตามแผนต่าง ๆ ของสำนักงานจเรตำรวจให้เป็นระบบสามารถตรวจสอบได้
- ๔.๘) ประมวลผลและวิเคราะห์เชิงวิจัยสถิติข้อมูลในการตรวจราชการ การสืบสวนข้อเท็จจริง และการปฏิบัติตามแผนต่าง ๆ ของสำนักงานจเรตำรวจ
- ๔.๙) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
(๕) ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ และงานนิติการ โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
- ๕.๑) งานธุรการและงานสารบรรณ รวมทั้งจัดทำสถิติงานเข้า – ออก ของฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์
- ๕.๒) งานตัดข่าวหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การร้องเรียนกล่าวหาข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ๕.๓) งานลงทะเบียนรับและแยกเอกสาร
- ๕.๔) งานจัดเก็บ ค้นหา รวบรวมระเบียบ ข้อบังคับ สำเนา คำสั่ง และสำนวนการสอบสวนต่าง ๆ เพื่อนำไปเสนอแนะผู้บังคับบัญชาเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ในปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
- ๕.๕) งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลและกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- ๕.๖) งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดตำรวจภูธรภาค ๑, ๗, ๘, ๙ และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ๕.๗) งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดตำรวจภูธรภาค ๒, ๓, ๔, ๕ และ ๖
- ๕.๘) งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดหน่วยงานอื่นนอกเหนือจากข้อ
- ๕.๙) ดำเนินการตรวจสอบสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง ประมวลข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ข้อพิจารณา และข้อเสนอแนะเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการ
- ๕.๑๐) ดำเนินการให้คำปรึกษา แนะนำปัญหาข้อกฎหมาย ระเบียบ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสำนักงานจเรตำรวจ
- ๕.๑๑) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
(๖) ศูนย์จริยธรรมและจรรยาบรรณ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ ให้คำปรึกษาแนะนำหน่วยต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
- ๖.๑) งานธุรการและงานสารบรรณ รวมทั้งจัดทำสถิติงานเข้า – ออก ของศูนย์จริยธรรมและจรรยาบรรณ
- ๖.๒) ดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำหน่วยต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
- ๖.๓) ดำเนินการจัดทำคู่มือและคำอธิบายแนวทางปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
- ๖.๔) รวบรวม เก็บรักษา และแจกจ่ายกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ
- ๖.๕) ดำเนินการออกกฎ ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณให้มีความเหมาะสมกับกาลเวลาและสถานการณ์
- ๖.๖) รวบรวมสถิติข้อมูลหน่วยงานและหรือข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างที่ละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจให้เป็นระบบสามารถตรวจสอบได้
- ๖.๗) ประสานกองบัญชาการต่าง ๆ จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
- ๖.๘) ให้ศูนย์จริยธรรมและจรรยาบรรณตามระเบียบนี้เป็นศูนย์ ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจในระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ๖.๙) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
#วันเกษม #สัตยานุชิต #วันเกษมสัตยานุชิต #wankasem #sattayanuchit #kring #กริ่ง #ที่ปรึกษาจเรตำรวจแห่งชาติ #จเรตำรวจ #ตำรวจ #พล.ต.เอก.อัมรินทร์ อัครวงษ์ #สำนักงานตำรวจ
แรงบันดาลใจชีวิต : Inspired Man Thailand
YOUTUBE : Inspired Man Thailand