วันเกษม สัตยานุชิต
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (ส.อบจ.)
เขต1 อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ นายวันเกษม สัตยานุชิต มาลงสมัครแทน นายศักดิ์เกษม สัตยานุชิต ส.อบจ.ที่เพิ่งหมดวาระ อ.ปักธงชัย เขต ๑ เดิมเป็นพื้นที่ของนายศักดิ์เกษม สัตยานุชิต ต่ครั้งนี้มีข่าวจะลงสมัครนายกเทศมนตรีเมืองปัก จึงส่งลูกชายคือ ได้หมายเลข ๒ และมีผู้แข่งขันอีก ๓ คนคือ หมายเลข ๑ นายภาณุ ยนต์สุข, หมายเลข ๓ นายอานุภาพ โรจน์นิรภัย และหมายเลข ๔ นายธนวัฒน์ ญาติสระน้อย
ข่าว: ตามที่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (ส.อบจ.) หมดวาระเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ ซึ่งเดิมคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครราชสีมา(กกต.จว.นม) กำหนดจะเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ ๓๐ เมษายน-๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และเลือกตั้งในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ แต่เนื่องจากพบว่า ในพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ ๒ และเขตเลือกตั้งที่ ๕ พบว่ามีส่วนต่างของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของเขตที่มากที่สุดและเขตที่น้อยที่สุดตามลำดับ เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ จึงจำต้องมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ โดยเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นและเสนอต่อกกต.กลางเพื่อพิจารณา กระทั่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยมี ๔๘ เขตเท่าเดิม มีส.อบจ.เขตละ ๑ คน ซึ่งต่อมากกต.ได้กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งระหว่างวันที่ ๑๘-๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ และจะมีการเลือกตั้งในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕
วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ จึงเป็นวันแรกการเปิดรับสมัครเลือกตั้งส.อบจ. ที่โรงยิมเนเซียม ๒,๐๐๐ ที่นั่ง ภายในสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก โดยผู้สมัครต่างมาถึงสถานที่รับสมัครก่อนเวลา พร้อมด้วยบรรดากองเชียร์ของผู้สมัครจาก ๓๒ อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา กว่า ๒,๐๐๐ คน ถือป้ายรูปผู้สมัครเขตต่างๆ และส่งเสียงเชียร์กึกก้องไปทั่วโรงยิมเนเซียม โดยมีนายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และกกต.จว.นครราชสีมาทั้ง ๕ คนนำโดยพลโทอัศวิน รัชฎานนท์ ประธานกกต.นครราชสีมา และพันเอกสันธิรัตน์ มหัทธนชาติ ผอ.กต.จว.นครราชสีมา มาร่วมสังเกตการณ์ด้วยเช่นกัน รวมทั้งนายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และส.ส.เขต ๑ นครราชสีมา พร้อมด้วยนายวัชรพล โตมรศักดิ์ ส.ส.นครราชสีมา เขต ๒ และนายประเสริฐ บุญชัยสุข ส.ส.นครราชสีมา เขต ๓ ที่เดินทางมาให้กำลังใจผู้สมัครในกลุ่มโคราชชาติพัฒนาด้วย พร้อมทั้งนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และลูกชายคือนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต ๗ พรรคเพื่อไทยที่เดินทางมาให้กำลังใจผู้สมัครที่ให้การสนับสนุนส่งลงสมัคร รวทั้งนายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ส.ส.นครราชสีมา เขต ๑๕ พรรคภูมิใจไทยด้วย
น
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และส.ส.เขต ๑ นครราชสีมา ซึ่งเดินทางมาให้กำลังใจผู้สมัครส.อบจ.ในสังกัดกลุ่มโคราชชาติพัฒนา เปิดเผยว่า ในการทำงานเพื่อพัฒนาพื้นที่นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีการประสานงานหรือบูรณาการกัน ทั้งภาคการเมืองและภาคประชาชน ซึ่งในภาคการเมืองนั้น จำเป็นต้องมีการประสานงานทั้งการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น มีการวางแผนการพัฒนาโคราชให้เป็นระบบมีทิศทางที่ชัดเจนทั้งในการจัดสรรงบประมาณต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกัน ส่วนเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงก็ต้องเป็นหน้าที่ของกกต. ซึ่งผมก็ต้องการให้การเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม โปร่งใส ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง และขอฝากให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ออกมาเลือกตั้งโดยใช้วิจารณญาณเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความเหมาะสม และมีประสบการณ์มารับใช้พี่น้องประชาชนเพื่อประโยชน์สูงสุดของโคราชบ้านเอง
เมื่อถึงเวลาสมัคร ๐๘.๓๐ น. นายอภิวัตน์ พลสยม ปลัดอบจ.ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริการส่วนจังหวัดนครราชสีมา กำหนดวิธีจับสลากเข้าสมัครเป็นรายเขตเลือกตั้ง เพื่อป้องกันความสับสน เนื่องจากมีผู้สนใจมาสมัครพร้อมกันจำนวนมาก โดยอำเภอบัวลายได้ดำเนินการรับสมัครเป็นเขตแรก และปิดท้ายด้วยอำเภอบัวใหญ่เป็นเขตสุดท้าย ก่อนที่จะให้ผู้สมัครทั้ง ๔๘ เขต จาก ๓๒ อำเภอ จับสลากเลือกหมายเลขที่จะใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง
อำเภอเมืองนครราชสีมา มี ๘ เขตเลือกตั้ง มีส.อบจ. ๘ คน จากทั้งหมด ๘ เขตเลือกตั้ง ซึ่งในเขตเลือกตั้งที่ ๑ มีผู้สมัคร ๔ คน ได้แก่ นายกิติพงศ์ พงศ์สุรเวท กลุ่มโคราชชาติพัฒนา อดีตส.อบจ.หลายสมัย, นายจำนงค์ กันสำโรง อดีตส.จ., นางสาวพรทิพย์ บำรุงกลาง (ดร.ตุ้ย) ในนามชมรมคนโคราชรักประชาธิปไตย (พรรคเพื่อไทย) และนายการันต์ พลฤทธิ์ หรือโก๋ การันต์ นักร้องและนักจัดรายการชื่อดังในโคราชและเป็นผู้สมัครส.ท.เขต ๔ กลุ่มเพื่อประชา ปรากฏว่านส.พรทิพย์ จับสลากหมายเลขได้หมายเลข ๑ นายการันต์ได้หมายเลข ๒ นายจำนงค์ได้หมายเลข ๓ และนายกิติพงศ์ได้หมายเลข ๔ ซึ่งจากการที่นายกิติพงศ์จับได้หมายเลข ๔ ในเขตเลือกตั้งที่ ๑ ส่งผลให้ในเขตเลือกตั้งที่ ๒-๘ อ.เมืองนครราชสีมา ซึ่งเบื้องต้นมีผู้สมัครไม่ถึง ๔ คน ทางผู้สมัครกลุ่มโคราชชาติพัฒนาจะยื่นเอกสารการเลือกตั้งไม่ครบ เพราะมีความต้องการให้ผู้สมัครทั้ง ๘ เขตเลือกตั้งในอำเภอเมืองหมายเลข ๔ เหมือนกันทุกเขต โดยอ้างว่าเพื่อความสะดวกในการหาเสียง จึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้สมัครรายอื่นมาสมัครครบ ๔ คน ซึ่งมีกระแสข่าวว่า ทางกลุ่มโคราชชาติพัฒนาต้องไปจัดหาผู้สมัครมาให้ครบ ๔ คน เพื่อให้ผู้สมัครในกลุ่มฯ ได้หมายเลข ๔
เขต ๒ อ.เมืองนครราชสีมา มีผู้สมัคร ๔ คน ได้แก่ หมายเลข ๑ นายระบิล(บอย) บำรุงกลาง น้องดร.ตุ้ย สังกัดชมรมคนโคราชรักประชาธิปไตย โดยสวมเสื้อพรรคเพื่อไทย พร้อมมีข้อความที่เป็นลายมือของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ข้างหลังเสื้อว่า “ขอให้ประสบความสำเร็จ”, หมายเลข ๒ นายชัยรัตน์ จิตรโคกกรวด, หมายเลข ๓ นายจิรวัฒน์ จำนงค์วิทย์ และหมายเลข ๔ นายอดุลย์ อยู่ยืน อดีตส.อบจ.สมัยที่ผ่านมาในกลุ่มรักษ์โคราชของนพ.สำเริง แหยงกระโทก(หมอแหยง) แต่ครั้งนี้ย้ายมาสังกัดกลุ่มโคราชชาติพัฒนา
เขต ๓ อ.เมืองนครราชสีมา มีผู้สมัคร ๔ คน ได้แก่ หมายเลข ๑ นางสาวนันทิกา จิตศรีพิทักษ์เลิศ, หมายเลข ๒ นายจักรวุธ ไตรวัลลภ, หมายเลข ๓ นางสาวจำลอง ขอบโคกกรวด และหมายเลข ๔ นายองอาจ(โจ้) พฤกษ์พนาเวศ อดีตส.อบจ.สมัยที่ผ่านมาซึ่งเคยลงสมัครในสังกัดกลุ่มประชาธิปัตย์ แต่ครั้งนี้ย้ายมาสังกัดกลุ่มโคราชชาติพัฒนา
เขต ๔ อ.เมืองนครราชสีมา มีผู้สมัคร ๔ คน เบื้องต้นมีผู้สมัครเพียง ๓ คน คือ นายประพจน์ ธรรมประทีป อดีตส.อบจ.สมัยที่ผ่านมาสังกัดกลุ่มรักษ์โคราช แต่ครั้งนี้ลงสมัครอิสระ, นายขรรค์ชัย สุภิมารส อดีตส.อบจ.กลุ่มโคราชชาติพัฒนา ซึ่งสอบตกในสมัยที่แล้ว และนายบริพัตร กุมารบุญ อดีตส.ท.กลุ่มโคราชชาติพัฒนา ซึ่งเคยสมัครส.อบจ.ในสมัยที่แล้วแต่สอบตก ครั้งนี้ลงสมัครโดยสวมเสื้อพรรคเพื่อไทย และบอกว่าอยู่ในสังกัดร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายกอบจ.นครราชสีมา จึงต้องมีผู้มาสมัครเพิ่มอีก ๑ คน เพื่อให้นายขรรค์ชัย ได้หมายเลข ๔ เป็นผลให้นายประพจน์ได้หมายเลข ๑, นายบริพัตรได้หมายเลข ๒, นายสามารถได้หมายเลข ๓ และนายขรรค์ชัยได้หมายเลข ๔
เขต ๕ อ.เมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของกลุ่มโคราชชาติพัฒนา ครั้งนี้มีผู้สมัคร ๔ คน ได้แก่ หมายเลข ๑ นายสรายุทธ ตัณฑ์เอกคุณ, หมายเลข ๒ นายสายัณห์ ปริกจินดา, หมายเลข ๓ นายสรายุทธ ลิ้มในเมือง และหมายเลข ๔ นางสาวรัชฎา(นก) ใจกล้า อดีตส.อบจ.สมัยที่ผ่านมา กลุ่มโคราชชาติพัฒนา
เขต ๖ อ.เมืองนครราชสีมา มีผู้สมัคร ๕ คน ได้แก่ หมายเลข ๑ นายนรภัท์ ทองแสน, หมายเลข ๒ นางสาวรัตนา ชัยวงษ์, หมายเลข ๓ นางบุญเสริม กาจโคกกรวด, หมายเลข ๔ นายณัฐชัย ธิติรัตนานนท์ อดีตส.อบจ.สมัยที่ผ่านมากลุ่มโคราชชาติพัฒนา และหมายเลข ๕ นายสมศักดิ์ เสมา
เขต ๗ อ.เมืองนครราชสีมา มีผู้สมัคร ๔ คน ได้แก่ หมายเลข ๑ นายมนู ใหญ่สูงเนิน, หมายเลข ๒ นางสาวกฤษณี เลิศชัยพงษ์, หมายเลข ๓ นางสาวสุวรรณา ทองเกิด และหมายเลข ๔ นายวีระวัฒน์ มิตรสูงเนิน อดีตส.อบจ.สมัยที่ผ่านมากลุ่มโคราชชาติพัฒนา
เขต ๘ อ.เมืองนครราชสีมา มีผู้สมัคร ๔ คน ได้แก่ หมายเลข ๑ นายสมคิด ไชยณรงค์, หมายเลข ๒ นางสาวกันย์ลภัส เลิศชัยพงศ์, หมายเลข ๓ นางสาวนิภาพร เลิศชัยพงศ์ พี่น้องกับเบอร์ ๒ และหมายเลข ๔ นายสมบัติ กาญจนวัฒนา อดีตส.อบจ.สมัยที่ผ่านมากลุ่มโคราชชาติพัฒนา
รูปภาพหาเสียง
วันเกษม สัตยานุชิต
ผู้สมัคร หมายเลข 2
เขต อำเภอปักธงชัย เขต1
จังหวัดนครราชสีมา
อ.คง มีผู้สมัคร ๓ คน หมายเลข ๑ นายพยุงศักดิ์ จายะภูมิ์, หมายเลข ๒ นายไกรวัจน์ จุลศิริวัฒนกุล และหมายเลข ๓ นายสุระเมษฐ์ ธนภัทร์คงโกมล ซึ่งการไม่ปรากฏตัวในวันแรกของนายประชา ฉัตรวงศ์วาน อดีตส.อบจ. ๒ สมัย ทำให้ “โคราชคนอีสาน” สอบถามไปยังนายประชาถึงสาเหตุการไม่ลงสมัครส.อบจ.ครั้งนี้ โดยได้รับการเปิดเผยว่า “ผมไม่ลงสมัครในสมัยนี้ เนื่องจากดูจากปรากฏการณ์การเลือกตั้งที่ผ่านมาในภาพรวมทั้งจังหวัดไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกอบต. ส่วนใหญ่มีการซื้อเสียงทั้งสิ้น ซึ่งโดยส่วนตัวของผมเป็นส.อบจ.มาแล้ว ๒ สมัยไม่เคยใช้เงินซื้อเสียงเลย ใช้เพียงความนับถือศรัทธาที่พี่น้องประชาชนมีให้ แต่สำหรับการสมัครครั้งนี้ผมได้ข่าวว่ามีผู้รับเหมารายหนึ่งจะมาลงสมัครด้วย ซึ่งถ้าผมไม่ใช้ในเงินซื้อเสียงก็คงไม่ได้รับเลือกตั้งอย่างแน่นอน นอกจากนี้เพื่อนของผมบางคนยังบอกว่า คนที่จะอยู่ได้ในสังคมการเมืองต้องมีคุณสมบัติ ๓ ข้อคือ ๑.เป็นคนดี ๒.เป็นคนเก่ง และ ๓. ต้องจ่ายเงิน สมัยที่ผมสมัครส.ว.(สมาชิกวุฒิสภา) และมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๙ ครั้งนั้นเลือกตั้งทั้งจังหวัดมีส.ว.ได้ ๘ คน ผมได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ ๙ (๓๗,๖๓๓ คะแนน) คะแนนน้อยกว่าลำดับที่ ๘ เพียง ๒๖๒ คะแนนเท่านั้น ซึ่งขณะนั้นเพื่อนผมบอกว่าหมายเลขอื่นเขาจ่ายกันหัวละ ๒๐-๔๐ บาท แต่ผมได้รับแรงสนับสนุนจากส.ส.และท่านสุวัจน์(ลิปตพัลลภ) โดยคิดว่าตัวเองต้องได้อย่างน้อยก็ลำดับที่ ๖-๗ เพราะเคยไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องรัฐธรรมนูญพ.ศ.๒๕๔๐ เรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง แต่ผมก็ไม่ได้รับเลือกตั้งแพ้ไปเพียง ๒๖๒ คะแนน เพราะไม่ต้องการเป็นส.ว.ที่จ่ายเงินซื้อเสียง ฉะนั้น การไม่ลงสมัครส.อบจ.ครั้งนี้ เพราะคิดว่าหากไม่ใช้เงินก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง จึงไม่ลงสมัครดีกว่า อยู่แบบไม่มีตำแหน่งเราก็สามารถสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนได้
อ.แก้งสนามนาง เดิมเป็นพื้นที่ของนายสุชาติ ภิญโญ แต่ภายหลังลาออกไปสมัครส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทยและได้รับเลือกตั้ง จึงมีการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และนายอนันตศักดิ์ ดาวโคกสูง ได้รับเลือกตั้งเป็นส.อบจ.ที่เพิ่งหมดวาระ สำหรับในครั้งนี้มีผู้สมัคร ๓ คนได้แก่ หมายเลข ๑ นายอนันตศักดิ์ ดาวโคกสูง, หมายเลข ๒ นายสมชาย ภิญโญ น้องชายนายสุชาติ ภิญโญ และหมายเลข ๓ นายภูมิพัฒน์ ดวงเงิน
อ.ขามทะเลสอ เป็นพื้นที่นายกิตติ เชาวน์ ดี แต่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกอบจ.นครราช สีมา จึงส่งภริยาคือนางอัญชลี เชาวน์ดี มาลงสมัครแทนและได้หมายเลข ๑ เพราะมาสมัครในวันแรกเพียงคนเดียว
อ.ขามสะแกแสง เดิมเป็นพื้นที่ของนายชวาล(หมง) พัฒนกำชัย ส.อบจ.ที่เพิ่งหมดวาระ ซึ่งครั้งนี้ได้หมายเลข ๑ ส่วนนายพร้อมชนะ สันติกุลกิจ หมายเลข ๒
อ.พระทองคำ เดิมเป็นพื้นที่ของนายไพฑูรย์ เพ็ญจันทร์ ส.อบจ.ที่หมดวาระ ซึ่งครั้งนี้ได้หมายเลข ๒ และมีคู่แข่งหมายเลข ๑ คือนายบัณฑิต ชูชื่น
อ.บ้านเหลื่อม เดิมเป็นพื้นที่ของนายโกวิทย์ เลาวัณย์ศิริ ส.อบจ.ที่เพิ่งหมดวาระ ซึ่งครั้งนี้ได้หมายเลข ๑ และมีคู่แข่งหมายเลข ๒ คือนายจิรายุ โพธิ์นอก
อ.ปักธงชัย เขต ๑ เดิมเป็นพื้นที่ของนายศักดิ์เกษม สัตยานุชิต ส.อบจ.ที่เพิ่งหมดวาระ แต่ครั้งนี้มีข่าวจะลงสมัครนายกเทศมนตรีเมืองปัก จึงส่งลูกชายคือนายวันเกษม สัตยานุชิต มาลงสมัครแทน ได้หมายเลข ๒ และมีผู้แข่งขันอีก ๓ คนคือ หมายเลข ๑ นายภาณุ ยนต์สุข, หมายเลข ๓ นายอานุภาพ โรจน์นิรภัย และหมายเลข ๔ นายธนวัฒน์ ญาติสระน้อย
อ.ปักธงชัย เขต ๒ เดิมเป็นพื้นที่ของนายโป้ย พรหมอภิบาล ส.อบจ.ที่เพิ่งหมดวาระ ได้หมายเลข ๒ และมีผู้สมัครอีก ๒ คนคือหมายเลข ๑ นายเอนก แพปรุ และหมายเลข ๓ นายภูกิจ พันธุ์เกษม
อ.ปากช่อง เขต ๑ เดิมเป็นพื้นที่ของนาย ศรัณยพงศ์ อนิวัตกูลชัย ส.อบจ. แต่ยังไม่ปรากฏตัวไปสมัครในวันแรก แต่มีเครือญาติคือนายณัฎฐพัชร์ อนิวัตกูลชัย มาลงสมัคร ได้หมายเลข ๑ ส่วนหมายเลข ๒ คือนายเชาวลิต ทรัพย์ประเสริฐ และหมายเลข ๓ นายเทิดศักดิ์ เปียซื่อ
อ.ปากช่อง เขต ๒ เดิมเป็นพื้นที่ของนายอัฏฐกร อินทร์ศร ส.อบจ. สมัครหมายเลข ๑ ส่วนหมายเลข ๒ นายพัฒน์เชวง อภิชัยอนันต์ และหมายเลข ๓ นายสนธยา ชะวาลา
อ.ปากช่อง เขต ๓ เดิมเป็นพื้นที่ของนายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ แต่ภายหลังลาออกไปสมัคร ส.ส.นครราชสีมา จึงมีการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และน้องชายคือนายสมพงษ์ เลิศด้วยลาภ ได้รับเลือกตั้งเป็นส.อบจ. ลงสมัครในครั้งนี้ได้หมายเลข ๓ มีคู่แข่งคือหมายเลข ๑ นายธนากร จันทรวราภร และหมายเลข ๒ นายสมยศ คุณเวียง
อ.ครุบรี เขต ๑ เดิมเป็นพื้นที่ของนายชยุต พงศ์ธนทรัพย์ สมัครได้หมายเลข ๒ ส่วนหมายเลข ๑ นายประสิทธิ์ ลอยครบุรี และหมายเลข ๓ นายพระราม รังกระโทก
อ.ครุบรี เขต ๒ เดิมเป็นพื้นที่ของนายพรชัย อำนวยทรัพย์ ได้หมายเลข ๑ และหมายเลข ๒ นายเลียบ บุญเชื่อง และหมายเลข ๓ นายปั่น รั้งกระโทก
อ.ด่านขุนทด เขต ๑ เดิมเป็นพื้นที่ของนายรชตะ ด่านกุล ภายหลังลาออกไปสมัครส.ส.นคร ราชสีมา พรรคเพื่อไทยแต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และมีการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยนายไกรฤกษ์ เสียนขุนทด ได้รับเลือกตั้งเป็นส.อบจ. และลงสมัครในครั้งนี้ได้หมายเลข ๓ และมีคู่แข่งคือหมายเลข ๑ นายรชฎ(ระชด) ด่านกุล และหมายเลข ๒ นายเสริมพงษ์ ลิ้มชูวงศ์
อ.ด่านขุนทด เขต ๒ เดิมเป็นพื้นที่ของนายธนวัฒน์ ศิริปริญญานันต์ ครั้งนี้ลงสมัครได้หมายเลข ๑ ซึ่งยังไม่ปรากฏว่ามีคู่แข่ง
อ.โนนสูง เขต ๑ เดิมเป็นพื้นที่ของนายสถาพร โชติกลาง ส.อบจ. ลงสมัครได้หมายเลข ๑ ซึ่งยังไม่ปรากฏว่ามีคู่แข่งแต่อย่างใด ส่วนอ.โนนสูง เขต ๒ เดิมเป็นพื้นที่ของนายสมพร จินตนามณีรัตน์ ส.อบจ.ที่เพิ่งหมดวาระ และครั้งนี้ลงสมัครได้หมายเลข ๑ ซึ่งยังไม่ปรากฏว่ามีคู่แข่งแต่อย่างใดเช่นกัน
อ.พิมาย เขต ๑ เดิมเป็นพื้นที่ของนายสมบูรณ์ นิยมไร่ ส.อบจ. สมัครได้หมายเลข ๑ มีนายสาทิช บวชสันเทียะ ผู้สมัครหมายเลข ๒ มาท้าชิง ส่วนอ.พิมาย เขต ๒ เดิมเป็นพื้นที่ของนายพงษ์พันธุ์ พันธุ์ศรีนคร ลงสมัครได้หมายเลข ๑ มีคู่แข่งคือนายกมลรัตน์(การ์ด) วิเศษจินดาวัฒนา ลูกชายนายประพัฒน์ วิเศษจินดาวัฒนา (อดีตส.ส.พรรคภูมิใจไทย) มาลงสมัครด้วย ได้หมายเลข ๒
อ.บัวใหญ่ เขต ๑ เดิมเป็นพื้นที่ของนายพิชัยศักดิ์ ชัยศรี ลงสมัครได้หมายเลข ๑ มีนายพันศักดิ์ พันอร่ามเรืองชัย มาลงสมัครในวันที่สอง(๑๙ มิถุนายน) ได้หมายเลข ๒ ส่วนอ.บัวใหญ่ เขต ๒ เดิมเป็นพื้นที่ของนายพิเชฎฐ์ ชัยศรี ส.อบจ.ที่เพิ่งหมดวาระ และยังไม่มีคู่แข่งมาสมัคร
อ.สีดา เดิมเป็นพื้นที่ของนายสมจิตร คิดการ ได้หมายเลข ๑ ซึ่งยังไม่มีคู่แข่ง
อ.บัวลาย เดิมเป็นพื้นที่ของนางสาวจุฑาสัณห์ ตั้งตรีวีระกุล ได้หมายเลข ๑ มีนายกิตติศักดิ์ พร้อมจิตต์ ได้หมายเลข ๒
อ.โนนแดง เดิมเป็นพื้นที่ของนายสมโภชน์ จินตนามณีรัตน์ ได้หมายเลข ๑ นายฉลอง แสงราษฏร์เมฆินทร์ ได้หมายเลข ๒
อ.ประทาย เดิมเป็นพื้นที่ของนายราเมศ เรืองธนานุรักษ์ ได้หมายเลข ๑ ยังไม่มีคู่แข่ง
อ.ลำทะเมนชัย เดิมเป็นพื้นที่ของนายสมศักดิ์ แสงแก้ว แต่ยังไม่ปรากฏตัวมาสมัครในวันแรก มีเพียงหมายเลข ๑ นายชยกฤต ยินดีสุข และหมายเลข ๒ นายมังกร ผ่องพรรณวงศ์
อ.เมืองยาง เดิมเป็นพื้นที่ของนายประเวทย์ ชุมสงฆ์ แต่ยังไม่ปรากฏตัวมาสมัครในวันแรก มีเพียงหมายเลข ๑ คือนางสาวรมย์ธีรา แปลนดี มาสมัครเพียงคนเดียว
อ.ชุมพวง เดิมเป็นพื้นที่ของนายกลวัชร อึ้งสวัสดิ์ และครั้งนี้ได้หมายเลข ๑ ซึ่งยังไม่มีคู่แข่ง
อ.ห้วยแถลง เดิมเป็นพื้นที่ของอรอนงค์ ธนสุนทรสุทธิ์ ส.อบจ.ที่เพิ่งหมดวาระ และครั้งนี้ได้หมายเลข ๑ ยังไม่มีคู่แข่ง
อ.จักราช เดิมเป็นพื้นที่ของนายวิสูตร เจริญสันธิ์ ได้หมายเลข ๑ ซึ่งยังไม่มีคู่แข่ง
อ.เฉลิมพระเกียรติ เดิมเป็นพื้นที่ของนายชาคริต ทิศกลาง ได้หมายเลข ๑ ยังไม่มีคู่แข่ง
อ.โชคชัย เดิมเป็นพื้นที่ของนายบุญดี วงศ์ไตรรัตน์ ส.อบจ.ที่เพิ่งหมดวาระและเป็นพี่ชายของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีตรมช.มหาดไทยและส.ส.พรรคภูมิใจไทย และมีคู่แข่งคนเดิมคือนายซ้าย ผลกระโทก มาสมัครได้หมายเลข ๑ ซึ่งนายบุญดีได้หมายเลข ๒ ในเขตนี้เป็นที่จับตามองและประชาชนให้ความสนใจมาก เนื่องจากนายซ้ายเคยลงสมัคร ส.ส.และชนะนายบุญจง แต่ภายหลังกกต.ให้ใบเหลืองต้องจัดเลือกตั้งใหม่ คะแนนพลิกนายบุญจงเป็นผู้ชนะ ต่อมานายบุญจงส่งภริยา(นางกาญจนา) ลงสมัครส.อบจ.และชนะนายซ้าย และในสมัยที่ผ่านมานายบุญดีลงสมัครส.อบจ.แทนนางกาญจนาและชนะนายซ้ายอีก ครั้งนี้นายซ้ายจึงกลับมาสมัครอีกครั้งหวังจะรับชัยชนะ สวมเสื้อพรรคเพื่อไทย
อ.หนองบุนมาก เดิมเป็นพื้นที่ของนายชาญ เขียวแก้ว ได้หมายเลข ๑ หมายเลข ๒ วีระวัฒน์ สีหเนตร และหมายเลข ๓ นายกรีธาพล วรรณทาป สวมเสื้อพรรคเพื่อไทยลงสมัคร
อ.เทพารักษ์ เดิมเป็นพื้นที่ของนายสมพงษ์ เทียบขุนทด มีผู้สมัคร ๒ คนคือ หมายเลข ๑ นายชาญชัย ศรีวิพัฒน์ และหมายเลข ๒ นางพชร เชษฐ์ศักดา
อ.โนนไทย เดิมเป็นพื้นที่ของนายมนัส ศรีบงกช ได้หมายเลข ๒ ส่วนหมายเลข ๑ คือ นายสุรศักดิ์ ตันติสวัสดิ์
อ.เสิงสาง เดิมเป็นพื้นที่ของนางจินตนา จันทะเมนชัย ส.อบจ.ที่หมดวาระ แต่มีเพียงนายวีระชาติ ทุ่งไผ่แหลม มาสมัครได้หมายเลข ๑
อ.วังน้ำเขียว เดิมเป็นพื้นที่ของนายชุณห์ ศิริชัยคีรีโกศล ซึ่งครั้งนี้ลงสมัครแบบไร้คู่แข่ง
และท้ายสุดคืออ.สูงเนิน ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ของนายประสงค์ มีสวัสดิ์ มีเพียงนายรักชาติ กิริวัฒนศักดิ์ อดีตส.อบจ.หลายสมัยที่มาลงสมัครและได้หมายเลข ๑ ซึ่งอยู่ในกลุ่มโคราชชาติพัฒนา แต่สมัยที่แล้วแพ้นายประสงค์กลุ่มรักษ์โคราช
รูปภาพหาเสียง วันเกษม สัตยานุชิต ผู้สมัคร หมายเลข 2
เขต อำเภอปักธงชัย เขต1 จังหวัดนครราชสีมา
รูปภาพหาเสียง วันเกษม สัตยานุชิต
ผู้สมัคร หมายเลข 2 เขต อำเภอปักธงชัย เขต1 จังหวัดนครราชสีมา
วันเกษม สัตยานุชิต ผู้สมัคร หมายเลข 2 เขต อำเภอปักธงชัย เขต1 จังหวัดนครราชสีมา
ข่าวคนโคราช เลือกตั้ง สจ.นครราชสีมา 2555
http://www.koratdaily.com/blog.php?id=1227&like=1
#ข่าว #วันเกษม #สัตยานุชิต #koratdaily #เลือกตั้ง #ข่าวโคราช #นครราชสีมา #ปักธงชัย #หาเสียง
#วันเกษมสัตยานุชิต #วันเกษมสัตยานุชิต #inspiredmanThailand #wankasem #sattayanuchit #kring #กริ่ง #DoctorKring #สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา #ส.อบจ. #นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
ความคิดเห็น